ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ในวันที่ 14 ธันวาคม 2559 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2558-2559

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์สากล: ความขัดแย้งระหว่างประเทศ (สงครามโลกครั้งที่ 2) :ต้นเหตุของสงคราม

                       บล็อคก่อนหน้ามาร์คได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นสงครามที่ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเปลี่ยนขั้วอำนาจ การล้มสลายของจักรวรรดินิยม การก่อตั้งสันนิบาตแห่งชาติ จนนำไปสู่มหาสงครามอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาตินั่นก็คือ สงคามโลกครั้งที่ 2 (World war II)


ระยะการเกิดสงคราม - ยุติ (สงบศึก)
1 กันยายน 1939 - 2 กันยายน 1945

คู่ขัดแย้ง

ฝ่ายสัมพันธมิตร 
สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต


โจเซฟสตาลิน (สหภาพโวเวียต) แฟรงกลิน ดี รูสเวลต์ (สหรัฐอเมริกา) วินสตัน เชอร์ชิลล์ (สหราชอาณาจักร)

ฝ่ายอักษะ
นาซีเยอรมัน อิตาลี จักรวรรดิญี่ปุ่น



เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วง 1939-1945 ประเทศมหาอำนาจทุกประเทศในโลกได้เข้าร่วมสงครามในครั้งนี้

จุดเริ่มต้นของสงคราม
                 สงครามได้เริ่มขึ้นเมื่อ เยอรมัน ได้บุกเข้ายึดครองโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หลาย
คนอาจจะสงสัยว่า 

ทำไม เยอรมันนี้ถึงบุกโปแลนด์เป็นที่แรก 


นั่นก็เป็นเพราะว่า โปแลนด์มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบ จึงเหมาะกัยการรบด้วยยานเกราะ ซึงสามารถทำการรบได้เป็นแนวยาวกว่า 5,600 กิโลเมตร และชายแดนโปแลนด์ติดต่อกับเยอรมันทั้งทั้งทิศตะวันตกและเหนือ เป็นระยะทางกว่า 2,000 กิโลเมตร  รวมไปถึงชายแดนด้านทิศใต้อีก 300 กิโลเมตร!!!

                ทางกองทัพโปแลนด์ก็เตรียมกำลังรับมือกันอย่างเต็มที่ โดยเริ่มปฏิบัติการ "แผนตะวันตก" โดยการจัดกำลังบริเวณตามแนวชายแดนเยอรมัน-โปแลนด์ ด้วยความเชื่อที่ว่าหากเมื่อใดที่เยอรมันบุกโจมตี กองทัพสัมพันธมิตรก็จะส่งกองกำลังมาช่วยเหลือ 


 การจัดวางกองกำลังตั้งรับเยอรมันของโปแลนด์

โดยจุดศูนย์กลางกองกำลังอยู่ที่แคว้นซิลีเซีย ทางทิศตะวันตก แต่จุดเปลี่ยนสำคัญคือ โปแลนด์ไม่เชื่อตามคำแนะนำของฝรั่งเศสว่า "ให้ว่างกองกำลังหลังปราการธรรมชาติ" คือ หลังแม่น้ำวิสตูล่า และ แม่น้ำซาน แต่โปแลนด์ใช่วิธีคือ ค่อยๆถอยล่นมาถึงแม่น้ำเพื่อรวมกำลังพลที่มาที่หลังให้พร้อมโต้กลับเยอรมัน 




        แต่ด้วยระยะทางของชายแดนที่ยาวเหยียดของประเทศ บวกกับการวางกำลังที่หลวมๆ จัดวางการป้องกันอย่างไม่เหมาะสม และอยู่บนพื้นที่ที่เสียเปรียบ นับเป็นจิกซอขิ้นสำคัญ หากกองทัพโปแลนด์ไม่สามารถต้านกองกำลังเยอรมันในช่วงแรกได้ ผลจากการวางกำลังของโปแลนด์ทำให้ กองทัพเยอรมันใช้ยุทธวิธีคีมคีบ ในการปิดล้อมกองทัพโปแลนด์ ตัดขาดเส้นทางการส่งกำลัง

หมายเหตุ ยุทธวิธีคีมคีบคือ การแบ่งกองทัพออกเป็นสองส่วนแล้วตีโอบล้อม กองทัพข้าศึกไม่ให้มีทางหนีได้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น