ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ในวันที่ 14 ธันวาคม 2559 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2558-2559

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

10 อันดับนายกรัฐมนตรีของไทยที่มีคะแนนนิยมสูงที่สุดตลอดกาล (ตอนที่ 1)

เกร็ดความรู้การเมืองไทย

                      วันนี้มาร์คก็จะขอนำเสนอเนื้อหาเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเมืองไทย นั่นก็คือ... 10 อันดับนายกรัฐมนตรีของไทยที่มีคะแนนนิยมสูงที่สุดตลอดกาลลลลลล นั้นเอง อ่านมาถึงตรงนี้เพื่อนๆหลายๆคนคงจะอยากรู้แล้วสินะครับว่า ใครบ้างน้าที่จะมีคะแนนนิยมในการเลือกตั้งที่ผ่านๆมา เราไปดูกันที่คนแรกเลยดีกว่าครับ 😀😀




อันดับ  10  สมัคร สุนทรเวช 165 คะแนน

                      พูดชื่อนี้หลายคนต้องรู้จักกันแน่ๆ นั่นก็คือ นายสมัคร สุนทรเวช  นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม พ.ศ. 2551 — 9 กันยายน พ.ศ. 2551) หัวหน้าพรรคพลังประชาชน และยังเป็นถึงอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "น้าหมัก" "ออหมัก" หรือ "ชมพู่" (มาจากลักษณะจมูกของนายสมัคร) "ชาวนา" (จากกรณีกลุ่มงูเห่า)  ท่านสมัครเริ่มทำงานหลังจบนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสื่อมวลชนสายการเมือง โดยเขียนบทความ และความคิดเห็น ทางการเมืองแบบไม่ประจำใน หนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จนถึง 2516 เขียนบทความ การเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนถึง 2520 และเขียนบทความในคอลัมน์ประจำ "มุมน้ำเงิน" หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง 2537 นายสมัครข้ามจากการเป็นสื่ออย่างเดียว มาเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2511 ลงสมัครตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนขึ้นถึงระดับชาติ จนมามีบทบาทโดดเด่นช่วงปี 2519 จากการจัดรายการสถานีวิทยุยานเกราะ ที่มีเนื้อหาโจมตีบทบาทของ ขบวนการนักศึกษาในสมัยนั้น พร้อมทั้งปลุกระดมมวลชนให้เกลียดชังขบวนการนักศึกษา และ เป็นศูนย์กลางประสานงาน ถ่ายทอดกำหนดการ และคำสั่งเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านนักศึกษาใน เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ ในปี พ.ศ. 2519 นายสมัครได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมๆ กับการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และในปี พ.ศ. 2522 ได้ก่อตั้ง พรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค มีฐานคะแนนเสียงหลักในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในเขตที่มีหน่วยทหารตั้งอยู่หนาแน่น ความคิดและบทบาทของนายสมัคร มักสร้างกระแสมวลชน ทั้งสนับสนุนและคัดค้าน ได้อย่าง กว้างขวางร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 6 ตุลา, พฤษภาทมิฬ, ไอเดียหนุนกระทงโฟม ไล่มาจนถึง การกล่าวโจมตี ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ทางรายการโทรทัศน์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549


รายการชิมไปบ่นไป ของ ท่านสมัคร สุนทรเวช

อันดับต่อไปคงจะเป็นช่วงที่ใครๆหลายคน ที่อ่านบล็อคของมาร์คอยู่ อาจะยังไม่เกิด หรือถ้าเกิดแล้วก็คงจะอยู่ในช่วงวัยรุ่น แต่สำหรับตัวมาร์คเองก็ทันได้เกิดในช่วงสมัยที่ท่านเป็นนายกอยู่ 555 (นับว่าสมัยที่ท่านดำรงตำแนง เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศเราเป็นอย่างมาก เหตุการณ์ที่ว่านั้นก็คือ "วิกฤตการต้มยำกุ้ง" ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างนั่นเอง) นั่นก็คือ


อันดับ  9  พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 196 คะแนน

                           เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 22 ของไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และอดีตผู้บัญชาการทหารบก เป็นเจ้าของสมญา "ขงเบ้งแห่งกองทัพบก" เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้า พรรคความหวังใหม่ คนแรก และเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัย มีคะแนนเสียงหนาแน่นในจังหวัดนครพนม สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "บิ๊กจิ๋ว" และในพื้นที่ภาคอีสาน เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "พ่อใหญ่จิ๋ว" พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วเข้าสู่การเมือง ก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ ในเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ปี พ.ศ. 2535 พล.อ.ชวลิต เป็นหนึ่งในผู้ที่ปราศรัยขับไล่ พลเอกสุจินดา คราประยูร ที่สนามหลวง เป็นคนแรกด้วย การเมืองหลังจากนั้น พรรคความหวังใหม่กลายเป็นพรรคที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดในภาคอีสาน ก่อนที่จะย้ายพรรคมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544 และ พล.อ.ชวลิต ก็รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรสมัยแรกด้วย หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 พล.อ.ชวลิต พยายามจะเป็นผู้เสนอตัวไกล่เกลี่ยทำความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้ที่ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ "สมานฉันท์" กัน โดยเรียกบทบาทตัวเองว่า "โซ่ข้อกลาง" รวมทั้งมีการข่าวว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน แต่แล้วตำแหน่งนี้ในที่สุดก็ตกเป็นของ นายสมัคร สุนทรเวช ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ.ชวลิตได้เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่เจรจากับฝ่าย พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยเฉพาะ แต่หลังจากรับตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน ก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่หน้าอาคารรัฐสภา พล.อ.ชวลิตก็ขอลาออกทันที

    อันดับต่อมา ผู้เป็นเจ้าของวลี "เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามค้า" และดำเนินนโยบาย "เปิดเสรีทางการเงิน" นั่นก็คือ 


อันดับ  8  พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ 261 คะแนน

                  อดีตนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในหลายกระทรวงคือ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงกลาโหม พลเอกชาติชาย เป็นผู้ก่อตั้งพรรคการเมือง 2 พรรค และได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค คือ พรรคชาติไทย และ พรรคชาติพัฒนา พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 มีการปรับคณะรัฐมนตรี 1 ครั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ได้ดำรงตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นระยะเวลารวมประมาณ 2 ปีครึ่ง ผลงานที่โดดเด่นมากของรัฐบาล พลเอกชาติชาย ได้แก่ การดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะใน กลุ่มอินโดจีน เช่น การประสานงานให้มีการเจรจาร่วม ระหว่างเขมร 4 ฝ่าย เพื่อยุติการสู้รบ และสนับสนุน ให้มีการจัดตั้งรัฐบาลประเทศกัมพูชาภายใต้การนำของ สมเด็จสีหนุขึ้น นโยบายต่างประเทศของ รัฐบาลพลเอกชาติชาย มีชื่อเรียกที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ นโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" ทางด้านเศรษฐกิจ ได้อนุมัติโครงการเพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในหลาย โครงการ เช่น โครงการโทรศัพท์พื้นฐาน 3 ล้านเลขหมาย โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และโครงการทางด่วนยกระดับ ตัวเลขความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงนั้น ร้อนแรงถึงกว่า 10 เปอร์เซนต์ต่อปี กระทั่งมีการคาดหมายโดยทั่วไปว่าประเทศไทยจะเป็น "เสือตัวที่ 5" ของเอเชีย (Fifth Asian Tiger) ต่อจาก "4 เสือเศรษฐกิจของเอเชีย" คือ เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีชื่อที่เรียกเป็นที่รู้จักทั่วไปว่า "น้าชาติ" มีคำพูดติดปากเมื่อให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า "No Problem" หมายถึง "ไม่มีปัญหา" จนเป็นที่จดจำได้ทั่วไป ซึ่งศิลปินเพลง แอ๊ด คาราบาว ได้นำไปประพันธ์เป็นเพลงล้อการเมืองชื่อ "โนพลอมแพลม" การบริหารงานของรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เริ่มประสบปัญหาในช่วงท้ายของวาระการดำรงตำแหน่ง เมื่อถูกโจมตีว่ามีการทุจริต หาผลประโยชน์ในโครงการลงทุนของรัฐ จนมีคำกล่าวโจมตีการทำงานของคณะรัฐมนตรี รัฐบาลพลเอกชาติชายว่าเป็น "บุฟเฟ่ต์คาบิเนต" ขณะที่การทำงานของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีสัดส่วน ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล เป็นจำนวนมากก็ถูกโจมตีว่ามีสภาพเป็น "เผด็จการรัฐสภา" พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ บริหารประเทศจนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ก็ถูกยึดอำนาจการปกครองโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ภายใต้การนำของ พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ. สุจินดา คราประยูร พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล และพล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี ที่ต่อมานำไปสู่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535



สารคดีช่อง 9 ด้านนโบายของพลเอกชาติชาย ณ 4 สิงหาคม 2531


น้อยนักที่จะไม่มีใครรู้จักท่านนี้ ยิ่งคนที่เคยไปจังหวัดสุพรรรณบุรี แล้วต้องรู้จักอย่างแน่นอน นั่นก็คือ...


อันดับ  7  นายบรรหาร ศิลปอาชา 277 คะแนน

                      อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชา เกิดวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คนของนายเซ่งกิม และนางสายเอ็ง แซ่เบ๊ เดิมมีชื่อว่า นายเต็กเซียง แซ่เบ๊ สมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา (สมรสกับ เก๋-สุวรรณา ไรวินท์ ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจ ซุปไก่ก้อนรีวอง) และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา และ น.ส.ปาริชาติ ศิลปอาชา นายบรรหารจบการศึกษาชั้นประถมที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ากรุงเทพมาเรียนหนังสือชั้นมัธยม ที่ โรงเรียนวัฒนะศิลป์วิทยาลัย แต่ต้องหยุดเรียนไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หันไปทำงานกับพี่ชาย และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเอง เป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีน ให้กับ การประปาส่วนภูมิภาค จนมีฐานะร่ำรวย ต่อมาเมื่อนายบรรหารเป็นนักการเมืองแล้ว จึงเริ่มเรียนหนังสือต่อจนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2529 และศึกษาต่อปริญญาโทนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน นายบรรหารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 หลังจากที่พรรคชาติไทยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 โดยที่มีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งรัฐบาลนายบรรหารนี้มีผลงานคือ การเริ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ. 2540 ที่ถือกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีที่มาจากประชาชนและมีความเป็นประชาธิปไตย ที่สุด และได้นำมาใช้ในเวลาต่อมา นายบรรหารพ้นจากตำแหน่งด้วยการยุบสภา เนื่องจากถูกพรรคฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจในเรื่องสัญชาติเกิดของบิดา



ประวัติโดยย่อของท่านบรรหาร ศิลปอาชา




อันดับ  6  นายชวน หลีกภัย 289 คะแนน

                นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 เป็นนายกรัฐมนตรีสองสมัยใน คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53 ปัจจุบันเป็นประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายชวนเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรกอย่างแท้จริงนับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 และมีชื่อเสียงเรื่องความซื่อสัตย์กับความประพฤติที่ไม่ด่างพร้อย





พอหอมปากหอมคอกันแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวมาร์คจะมาเพิ่มเติมอีกว่าอดีตนายกรัฐมนตรีท่านไหนบ้างที่ได้คะแนนนิยมสูงเป็นลำดับที่ 1-5 ติดตามตอนต่อไปนะครับ สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น