ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ในวันที่ 14 ธันวาคม 2559 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2558-2559

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิกฤตกาลต้มยำกุ้ง 2540

วิกฤตกาลต้มยำกุ้ง 2540


วิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทยนั้น มีอยู่หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น วิกฤติการเงิน วิกฤติธนาคาร หรือวิกฤติหนี้ระหว่างประเทศ โดยอาจเกิดจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาด หรือเกิดจากกลไกทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาด วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเป็นหนึ่งในตัวอย่างของวิกฤติเศรษฐกิจทางด้านการเงิน

พ.ศ. 2540 มีการไหลเข้าของทุนรวมสู่ประเทศในทวีปเอเชีย โดยที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่สามารถรักษาอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง นักลงทุนชาวต่างชาติจึงเข้าสู่ภูมิภาคนี้กันมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่า ผลดีคือ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย หรือมาเลเซีย มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอย่างมาก มีเงินเข้าภูมิภาคเป็นปริมาณมาก รวมทั้งมูลค่าสินทรัพย์สะสมก็เพิ่มขึ้น ในช่วงนั้นทวีปเอเชียได้รับการกล่าวว่าเข้าสู่ช่วง “ปาฏิหาริย์เศรษฐกิจแห่งเอเชีย” แต่ “พอล ครุกแมน” นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งไม่เห็นด้วยว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนี้จะเกิดผลดี เขากล่าวว่าการเจริญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เกิดจากการลงทุน แต่ปัจจัยรวมด้านผลิตภาพนั้นแทบไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามหลักแล้วการเจริญโดยที่ปัจจัยรวมเพิ่มขึ้นนั้น ถือเป็นการเจริญที่แท้จริง คือมีความมั่นคง และมั่งคั่งในระยะยาว ซึ่งต่อมาก็ได้เกิดวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศไทย ในสมัยของรัฐบาล พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ

การนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

  พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ รัฐบาลไทยสมัยนั้นประกาศลอยตัวค่าเงินบาท โดยตัดการอิงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ผลทำให้ค่าเงินบาทลดลงอย่างมาก
          ไม่นานวิกฤตินี้ก็ขยายสู่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งญี่ปุ่นอีกด้วย ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ มีการปรับตัวลดลง ส่วนภาคเอกชนก็มีหนี้สินเพิ่มขึ้น โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้น ได้แก่ เกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซีย แต่ พ.ศ. 2542 เศรษฐกิจก็เริ่มฟื้นตัว


สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
  1. หนี้ต่างประเทศ
          ประเทศไทยเกิดการขยายตัวทางระบบการเงิน เกิดการก่อหนี้ และการกู้เงินจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจาก
              - พ.ศ. 2533 ไทยเปิดระบบการเงินสู่สากล ตามพันธะสัญญาใน IMF
              - พ.ศ. 2534 ไทยประกาศปริวรรตเงินตราต่างประเทศ (การปริวรรตเงินตราต่างประเทศ หรือ International Monetary System คือ แนวทางการควบคุมปริมาณเงิน โดยประเทศต่าง ๆ จะรักษาค่าของเงินให้คงที่ จากการเทียบกับสิ่งของบางอย่าง ส่วนใหญ่ใช้โลหะเงินและทองคำ)
              - พ.ศ. 2535 ธนาคารพาณิชย์ตั้งกิจการ “วิเทศธนกิจไทย” ( BIBF – Bangkok International Banking Facilities คือ ธนาคารที่ทำธุรกรรมการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ แล้วนำมาให้กู้ทั้งภายในและนอกประเทศไทย หรือคือการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีนั่นเอง ) และในปี พ.ศ. 2536 มีธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ แต่รัฐบาลไม่มีการดูแลที่มีประสิทธิภาพ


          2. การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
          ประเทศไทยมีการพัฒนาการผลิตเพื่อส่งออก ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเกิดการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง เพราะการส่งออกที่หดตัว
          3. ฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
          อาจเรียกว่าการลงทุนที่เกินตัว โดยช่วง พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2539 กิจการอสังหาริมทรัพย์ เช่น สนามกอล์ฟ ที่อยู่ อาคาร สวนเกษตร หรือสำนักงานต่าง ๆ เกิดขึ้น และเติบโตมาก แต่มีการกู้ยืมเงินต่างประเทศ และการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อมาลงทุน ต่อมาราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงเข้ามาลงทุนกันจำนวนมากเพื่อเก็งกำไร ก่อให้เกิด “ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่” ( Economic Bubble / Bubble Economy ) เป็นภาวะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงกว่าความเป็นจริง และเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการลงทุนเพิ่มขึ้น มีการขยายตัวเหมือนฟองสบู่ เราอาจเคยเจอคำว่า “ภาวะฟองสบู่แตก” นั่นคือ ภาวะฟองสบู่ราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อราคาเริ่มลดลง ผู้ประกอบการจะเลิกลงทุน เกิดการหดตัวเหมือนฟองสบู่ที่หดตัวอย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาหนี้เสียขึ้นตามมา เหมือนฟองสบู่ที่แตก ( หนี้เสีย คือ หนี้ที่เมื่อเราทวงจากลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่สามารถชำระให้ได้ ความหมายคล้ายกับ สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ – Non Performing Loan หรือ NPL ส่วนหนี้สูญ คือ หนี้ที่เราไม่สามารถทวงจากลูกหนี้ได้ เพราะลูกหนี้อาจหายสาบสูญ หรือเสียชีวิต )
          4. การดำเนินงานของสถาบันการเงิน
                   - พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2540 รัฐบาลไม่เชื่อมั่นสถาบันการเงินในประเทศ และสั่งปิดสถาบันการเงินไปถึง 58 สถาบัน โดยรัฐบาลต้องใช้เงินสนับสนุนสถาบันการเงินเหล่านั้นถึง 6 แสนล้านบาท จาก “กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน” ซึ่งเป็นหน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย
          5.  การโจมตีค่าเงินบาท
          โดยนักลงทุนต่างชาติ มีการจัดตั้งกองทุน “Hedge Funds” เพื่อโจมตีค่าเงินบาทไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนำเงินทุนสำรองถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาปกป้องค่าเงินบาท เมื่อเงินสำรองมีน้อยลง นายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจึงประกาศ “ลอยตัวค่าเงินบาท” เมื่อ 2 ก.ค. 2540 เป็นการเริ่มต้นวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง       


ผลกระทบ และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา 
           - สัดส่วนระหว่าง หนี้ต่างประเทศ กับ GDP เพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น ประเทศในอาเซียนเพิ่มจาก 100% กลายเป็น 180% ในช่วงที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติการณ์
          - IMF (หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) เข้ามารักษาเสถียรภาพสกุลเงินของ ประเทศอินโดนีเซีย ไทย และเกาหลีใต้ โดยการลงทุน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะ 3 ประเทศดังกล่าวได้รับผลกระทบมากที่สุด
          - ประเทศสิงคโปร์ และไต้หวัน ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจนี้
          - ธุรกิจของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน บ้านจัดสรร ปิดกิจการ พนักงานถูกปลด มีหนี้เกิดขึ้นมาก มีการกดดันให้รัฐบาลลาออก
          - ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามพยุงค่าเงินบาท โดยใช้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศจนหมด และต้องกู้จาก IMF จำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ 
          - สำหรับการแก้ไขนั้น ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน IMF ให้แนวทางโดยดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด และปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน แต่ก็ส่งผลให้ปัญหาหนักขึ้น โดยราคาสินค้า และค่าบริการต่าง ๆ แพงขึ้น รัฐบาลชวน หลีกภัย ซึ่งรับตำแหน่งต่อจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ จึงเพียงประคองสถานการณ์ และให้ประชาชนหันมาใช้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ต่อมา รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จึงเริ่มสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินและการทำธุรกิจ โดยมีการสนับสนุน SMEs กองทุนหมู่บ้าน OTOP ประชาชนจึงมีรายได้เพิ่มขึ้น

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วันสำคัญของประเทศไทย


วันสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ไทย 

       1. วันยุทธหัตถี ตรงกับ วันที่ 18 มกราคม เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 ยุทหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะจะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้เช่นกัน

       2. วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันประกาศยกย่อง และเชิดชูเกียรติศิลปินชั้นครูของไทยที่ได้รับการคัด เลือกจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น "ศิลปินแห่งชาติ" โดยยึดถือเอาวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 "พระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์" ผู้ทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญในศิลปะทุกแขนงอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง เป็น "วันศิลปินแห่งชาติ"  

       3. วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม เป็นระลึกถึงวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 3 ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงบ้านเมืองทั้งในด้านการศาสนา การศึกษาและอื่นๆอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง ในสมัยของพระองค์ได้ทรงเก็บเงินบางส่วนใส่ "ถุงแดง" เอาไว้ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงนำมาใช้เป็นค่าปรับในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ร.ศ.112 ช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมืองและสงครามระหว่างประเทศไปได้

   4. วันจักรี ตรงกับวันที่ 6 เมษายน หมายถึง วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระนคร และทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศเป็นวัน แรก ตลอดพระชนมชีพของรัชกาลที่ 1 ต้องทรงออกศึกใหญ่เพื่อกอบกู้อิสรภาพถึง 11 ครั้ง โดยทรงเป็นแม่ทัพถึง 10 ครั้ง และทรงร่วมกับพระเจ้ากรุงธนบุรี 1 ครั้ง และเมื่อทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ยังต้องออกศึกเพื่อปกป้องอิสรภาพของชาติไทยอีกถึง 7 ครั้ง นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระกษัตริย์ยอดนักรบที่ยิ่งใหญ่และเก่งกล้าสามารถยิ่ง

       5. วันฉัตรมงคล ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม คือวันรำลึกถึงวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบันได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรีอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 และทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" (ซึ่ง ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราชรัชกาลที่ 8 นั้น ยังไม่ได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก เนื่องจากต้องเสด็จกลับไปศึกษาต่อ)

       6. วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง อันเป็นปรากฏการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงคำนวณทำนายไว้ก่อนล่วงหน้าถึง 2 ปีอย่างแม่นยำ และได้เสด็จฯไปทอดพระเนตรที่ ตำบลหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ในวันดังกล่าว เมื่อปี พ.ศ. 2411


       7. วันเยาวชนแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 20 กันยายน ด้วยถือว่าวันนี้เป็นวันที่เป็นสิริมงคลยิ่ง เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีถึง สองพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ซึ่งทั้งสองพระองค์นอกจากจะทรงครองราชย์สมบัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์แล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถยิ่ง สมควรที่เยาวชนไทยจะเจริญรอยตามเบื้องยุคลบาท

       8. วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย พระราชกรณียกิจของพระองค์ไม่ว่าจะเป็น การเลิกทาส การพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสาธารณูปการ การเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ฯลฯ ล้วนเป็นพื้นฐานแห่งความเจริญสืบต่อมาจนปัจจุบัน

       9. วันวชิราวุธ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า " สมเด็จพระมหาธีรราช เจ้า " เพราะทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมประเภท ต่างๆ เป็นจำนวนมาก เท่าที่รวบรวมได้ในปัจจุบันมีถึง 1,236 เรื่อง นอกจากนั้นยังทรงบัญญัติศัพท์ และทรงตั้งนามสกุลพระราชทาน ซึ่งได้รวบรวมไว้ขณะนี้เป็นจำนวนประมาณ 6,432 นามสกุล

       10. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงกับ วันที่ 5 ธันวาคม วันนี้ถือเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" และ "วันชาติไทย" ด้วย ตลอดระยะเวลายาวนานร่วม 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอุทิศพระวรกาย พระราชหฤทัย และพระสติปัญญาของพระองค์ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันยังประโยชน์สุขให้แก่ราษฎรของพระองค์มาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจที่มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วนนับพันโครงการ

       11. วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เป็นฉบับแรกให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อปีพ.ศ. 2475 ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบ ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

       12. วันพระเจ้าตากสินมหาราช ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นวีรกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่งที่ได้รับการเทิดทูน และเคารพบูชาจากประชาชนชาวไทยมาโดยตลอด ไม่เพียงเพราะพระปรีชาสามารถในการรบที่กอบกู้ชาติไทยให้เป็นเอกราช และสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่บ้านเมืองของเราเท่านั้น แต่พระองค์ยังเป็นผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว มีความกตัญญู และเสียสละต่อผืนแผ่นดินไทยอย่างยากที่จะหาผู้ใดเสมือนเหมือนอีกด้วย
 13. วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 เป็นวันที่พระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้จำนวน 1,250 รูปมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ปัจจุบันเราถือว่าวันนี้เป็น "วันแห่งความรักทางพุทธศาสนา" ทั้งนี้ เนื่องจากวันดังกล่าวได้เกิดเหตุการณ์พิเศษที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" ขึ้น และเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศหลักการและอุดมการณ์ แห่งพุทธศาสนา อันมีเนื้อหาหลัก ว่าด้วยการส่งเสริมให้มวลมนุษย์ตั้งมั่นในการทำความดี ละความชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ ทรงสอนให้ทุกคนมีความรักอันยิ่งใหญ่ เป็นรักที่ไม่เห็นแก่ตัว เพราะสอนให้รู้จักรัก และเมตตาต่อเพื่อนร่วมโลก โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำพระธรรมคำสั่งสอนดังกล่าวไปเผยแพร่

       14. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสิ่งที่สำคัญยิ่งในการบังเกิดพระพุทธเจ้าในโลกก็คือ "ธรรมะ" ที่พระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ทรงเปรียบเสมือนบรมครูผู้มาสอน มาชี้แนะแก่มวลมนุษย์ มิฉะนั้นคนเราก็คงไม่รู้จักหนทางแห่งการปฏิบัติธรรมเพื่อล่วงพ้นความทุกข์ เป็นแน่แท้ และวันวิสาขบูชา นี้องค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้ เป็นวันสำคัญสากล เมื่อปี พ.ศ.2542
   
       15. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ครบเป็นองค์รัตนตรัยครั้งแรกในโลก ซึ่งพระสงฆ์องค์แรกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และปฐมเทศนาที่ทรงแสดงคือ ธรรมจักกัปวัตนสูตร หมายถึง พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป นั่นคือ ธรรมะของพระพุทธองค์เหมือนวงล้อธรรมที่ได้เริ่มเคลื่อนแล้วจากจุดเริ่มต้นในวันนี้
   
       16. วันเข้าพรรษา เป็นวันเริ่มต้นที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องอธิษฐานจำพรรษาอยู่กับที่ ไม่เที่ยวจาริกไปยังที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี ซึ่งการให้จำพรรษาในสมัยพุทธกาล ก็เพื่อป้องกันมิให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าว และพืชผลของชาวบ้านเสียหาย ต่อมาถือเป็นโอกาสดีที่พระภิกษุจะได้มาอยู่ร่วมกันเพื่อศึกษาธรรมะ ส่วนชาวบ้านก็ได้เข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนาเพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลโดยมีพระภิกษุเป็นแบบอย่าง ครั้นต่อมาจึงเกิดประเพณีนิยมบวช 3 เดือน ขณะเดียวกัน ก็มีพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งนิยมถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่ม ต้นที่จะอธิฐานจิตลด ละ ความชั่วทั้งหลาย และทำความดีเพิ่มขึ้น สำหรับประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวันนี้คือ การถวายผ้าอาบน้ำฝนและการแห่งถวายเทียนพรรษา
   
       17. วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เป็นวันที่พระภิกษุพ้นข้อกำหนดทางวินัยที่จะอยู่จำพรรษา นับตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นมา และสามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ ซึ่งจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้อง คือ การตักบาตรเทโวโรหนะ คือวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน ซึ่งพุทธศาสนิกชนมักจะตักบาตรในวันนี้ ด้วยนิยมว่าเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาอยู่ 3 เดือน และถัดจากออกพรรษา 1 เดือน ถือเป็น เทศกาลกฐิน ที่จะทำบุญถวายผ้ากฐินตามวัดต่าง ๆ
   

วันสำคัญอื่น ๆ ของชาติ และวันสำคัญทางประเพณี
   
       18. วันขึ้นปีใหม่ ก่อนที่ไทยเราจะมีวันปีใหม่แบบสากลเช่นปัจจุบัน เราได้มีการเปลี่ยนแปลงปีใหม่มาแล้วถึง 3 ระยะ คือ เริ่มแรก ถือวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ระยะที่สอง เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 คือราวช่วงสงกรานต์ โดยใช้ปีนักษัตรและการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์ ระยะที่สาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายนอันเป็นนับวันทางสุริยคติ ซึ่งได้ประกาศใช้มาตั้งแต่พ.ศ. 2432 ระยะที่สี่ คือในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยให้เป็นไปตามแบบสากลนิยม คือวันที่ 1 มกราคม โดยมีเหตุผลว่า วันดังกล่าวกำหนดขึ้นโดยการคำนวณด้วยวิทยาการทางดาราศาสตร์ และเป็นที่นิยมใช้กันมากว่าสองพันปี อีกทั้งไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา หรือการเมืองของชาติใด แต่สอดคล้องกับจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณที่ใช้ฤดูหนาวเป็นต้นปี
   
       19. วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตน และขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ประชาชน และสังคมเห็นความสำคัญของเด็กที่จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติ และเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่
   
       20. วันครู ตรงกับวันที่ 16 มกราคม จัดขึ้นเพื่อให้สังคมได้ระลึกถึงความสำคัญของ " ครู " ในฐานะผู้เสียสละและประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน โดยเฉพาะช่วยสร้างบุคลากรที่เป็นอนาคตของชาติ
   
       21. วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายน อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็นแบบอย่างในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้าน อนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่างๆ ทรงได้รับการถวายพระสมัญญาเป็น "เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย" และ "วิศิษฏศิลปิน" อันหมายถึง ผู้เป็นเลิศในทางศิลปะ ทรงเป็นเมธีทางวัฒนธรรม และทรงมีคุณูปการต่องานศิลปะวัฒนธรรม


22. วันสงกรานต์  เป็นปีใหม่แบบเดิมของไทย ที่นับวันที่พระอาทิตย์ย่างเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเริ่มต้นปี โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน เป็น "วันมหาสงกรานต์" และถือเป็น "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ" ด้วย ส่วนวันที่ 14 เมษายน เรียก "วันเนา" และถือเป็น "วันครอบครัว" ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันเถลิงศก" หรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่ ปีนี้นางสงกรานต์ชื่อ มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูรย์ เสด็จนั่งมาเหนือหลังนกยูง
   
       23. วันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นอกจากจะเป็นพระราชพิธีโบราณเก่าแก่ที่จะทำเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเป็น สิริมงคลแก่การเกษตรกรรมแล้ว วันดังกล่าวยังถือเป็น "วันเกษตรกร" อีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรได้ระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร โดยเฉพาะประชาชนทั่วไปจะได้ระลึกถึงความสำคัญของข้าวและธัญญพืชที่มีคุณเอนกอนันต์ในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโตสมบูรณ์ทั้งกายใจ และเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อพึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชกรณียกิจอันเป็นแบบอย่างทางด้านเกษตรกรรมแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจมั่นในการประกอบอาชีพและเป็นเหตุของความตั้งมั่นความเจริญ ไพบูลย์ของประเทศมาโดยตลอด


24. วันสุนทรภู่ ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และมีผลงานประพันธ์มากมาย เฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี วรรณกรรมชิ้นเอกของท่าน ก็มีความยาวถึง 12,706 บท ถือได้ว่าเป็นกวีนิพนธ์ที่ยาวที่สุดในโลก ในขณะที่บทประพันธ์เรื่องอีเลียต ( Iliad ) ) และโอเดดซี (Odyssey) ของฝรั่งที่ว่ายาวที่สุด ยังมีเพียง 12,500 บทเท่านั้น เมื่อปี พ.ศ. 2529 ท่านได้รับยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก
     
25. วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระกรุณาเสด็จฯ ไปทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทยของชุมนุมภาษาไทยคณะอักษร ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ ความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทยของพระองค์ท่านเป็นอย่างมาก


26. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ "วันแม่แห่งชาติ" 
ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงเปรียบประดุจ "แม่แห่งแผ่นดิน" ที่ทรงดูแลทุกข์สุขของราษฎรดังลูก ๆ ของพระองค์ และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อปวงชนชาวไทยเคียงคู่กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านศิลปาชีพ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของไทย

27. วันพิพิธภัณฑ์ไทย ตรงกับวันที่ 19 กันยายน เป็นวันน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงให้กำเนิด "พิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน" ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่19 กันยายน พ.ศ. 2417 ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือ "หอคองคอเดีย" ในพระบรมมหาราชวัง
     
28. วันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ผู้ทรงมีคุณูปการต่อการแพทย์สมัยใหม่ จนได้รับการเฉลิมพระเกียรติว่าทรงเป็น " พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน "


29. วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น ลอยเคราะห์ บูชาพระพุทธเจ้า แต่ปัจจุบันนิยมทำเพื่อขอขมา และระลึกถึงคุณแม่พระคงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่มนุษย์

30. วันกีฬาแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 16 ธันวาคม เป็นวันระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชนะเลิศได้รับเหรียญทอง ในการแข่งขันเรือใบประเภท โอ.เค.ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2510 และเพื่อให้ประชาชน เยาวชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของกีฬาที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ



วินาศกรรม 9-11




วินาศกรรม 9-11 11 กันยายน 2001


เหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11 (ไนน์วันวัน) เป็นปฏิบัติการก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] โดยการการโจมตีพลีชีพที่ประสานกันสี่ครั้งต่อสหรัฐอเมริกา ในนครนิวยอร์กและพื้นที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เช้าวันนั้น ผู้ก่อการร้าย 19 คนจากกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงอัลกออิดะฮ์ จี้อากาศยานโดยสารสี่ลำ โจรจี้เครื่องบินนั้นนำไก่ทั้งสองพุ่งชนกับ ตึกแฝด เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กโดยเจตนา และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง โจรจี้เครื่องบินชนเครื่องบินลำที่สามกับอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนจะถึงเป้าหมายที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐอเมริกา ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คนในเหตุโจมตีดังกล่าว และไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำ




มีการพุ่งเป้าสงสัยไปที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์อย่างรวดเร็ว อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ผู้นำกลุ่ม ซึ่งได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องในตอนแรก สุดท้ายได้อ้างความรับผิดชอบเหตุวินาศกรรมดังกล่าวใน พ.ศ. 2547 อัลกออิดดะห์และบิน ลาดิน อ้างเหตุผลจูงใจในการก่อเหตุ ว่า การสนับสนุนอิสราเอลของสหรัฐอเมริกา การคงทหารสหรัฐประจำการไว้ในซาอุดิอาระเบีย และการลงโทษต่ออิรัก สหรัฐอเมริกาดำเนินมาตรการตอบโต้เหตุวินาศกรรมโดยการเริ่มสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror), การรุกรานอัฟกานิสถานเพื่อขับรัฐบาลตอลิบัน ซึ่งให้ที่พักพิงแก่สมาชิกอัลกออิดะฮ์ หลายประเทศเพิ่มกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายและขยายอำนาจการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 หลังลอยนวลมาได้นานหลายปี บิน ลาเดนถูกพบและถูกสังหาร




เหตุวินาศกรรมทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อเศรษฐกิจของแมนฮัตตันล่าง การทำความสะอาดเขตเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 พิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์ 11 กันยายนแห่งชาติมีกำหนดเปิดในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ติดกับอนุสรณ์ วันเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งมีความสูง 541 เมตร ประเมินไว้ว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2556 เพนตากอนซ่อมแซมภายในเวลาหนึ่งปี และมีการเปิดอนุสรณ์เพนตากอน ติดกับตัวอาคาร ใน พ.ศ. 2551 มีการจัดตั้งอนุสรณ์แห่งชาติเที่ยวบินที่ 93 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และอนุสรณ์ดังกล่าวก่อสร้างเสร็จอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554



วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์สากล: ความขัดแย้งระหว่างประเทศ (สงครามโลกครั้งที่ 2) :ต้นเหตุของสงคราม

                       บล็อคก่อนหน้ามาร์คได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นสงครามที่ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเปลี่ยนขั้วอำนาจ การล้มสลายของจักรวรรดินิยม การก่อตั้งสันนิบาตแห่งชาติ จนนำไปสู่มหาสงครามอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาตินั่นก็คือ สงคามโลกครั้งที่ 2 (World war II)


ระยะการเกิดสงคราม - ยุติ (สงบศึก)
1 กันยายน 1939 - 2 กันยายน 1945

คู่ขัดแย้ง

ฝ่ายสัมพันธมิตร 
สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต


โจเซฟสตาลิน (สหภาพโวเวียต) แฟรงกลิน ดี รูสเวลต์ (สหรัฐอเมริกา) วินสตัน เชอร์ชิลล์ (สหราชอาณาจักร)

ฝ่ายอักษะ
นาซีเยอรมัน อิตาลี จักรวรรดิญี่ปุ่น



เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วง 1939-1945 ประเทศมหาอำนาจทุกประเทศในโลกได้เข้าร่วมสงครามในครั้งนี้

จุดเริ่มต้นของสงคราม
                 สงครามได้เริ่มขึ้นเมื่อ เยอรมัน ได้บุกเข้ายึดครองโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หลาย
คนอาจจะสงสัยว่า 

ทำไม เยอรมันนี้ถึงบุกโปแลนด์เป็นที่แรก 


นั่นก็เป็นเพราะว่า โปแลนด์มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบ จึงเหมาะกัยการรบด้วยยานเกราะ ซึงสามารถทำการรบได้เป็นแนวยาวกว่า 5,600 กิโลเมตร และชายแดนโปแลนด์ติดต่อกับเยอรมันทั้งทั้งทิศตะวันตกและเหนือ เป็นระยะทางกว่า 2,000 กิโลเมตร  รวมไปถึงชายแดนด้านทิศใต้อีก 300 กิโลเมตร!!!

                ทางกองทัพโปแลนด์ก็เตรียมกำลังรับมือกันอย่างเต็มที่ โดยเริ่มปฏิบัติการ "แผนตะวันตก" โดยการจัดกำลังบริเวณตามแนวชายแดนเยอรมัน-โปแลนด์ ด้วยความเชื่อที่ว่าหากเมื่อใดที่เยอรมันบุกโจมตี กองทัพสัมพันธมิตรก็จะส่งกองกำลังมาช่วยเหลือ 


 การจัดวางกองกำลังตั้งรับเยอรมันของโปแลนด์

โดยจุดศูนย์กลางกองกำลังอยู่ที่แคว้นซิลีเซีย ทางทิศตะวันตก แต่จุดเปลี่ยนสำคัญคือ โปแลนด์ไม่เชื่อตามคำแนะนำของฝรั่งเศสว่า "ให้ว่างกองกำลังหลังปราการธรรมชาติ" คือ หลังแม่น้ำวิสตูล่า และ แม่น้ำซาน แต่โปแลนด์ใช่วิธีคือ ค่อยๆถอยล่นมาถึงแม่น้ำเพื่อรวมกำลังพลที่มาที่หลังให้พร้อมโต้กลับเยอรมัน 




        แต่ด้วยระยะทางของชายแดนที่ยาวเหยียดของประเทศ บวกกับการวางกำลังที่หลวมๆ จัดวางการป้องกันอย่างไม่เหมาะสม และอยู่บนพื้นที่ที่เสียเปรียบ นับเป็นจิกซอขิ้นสำคัญ หากกองทัพโปแลนด์ไม่สามารถต้านกองกำลังเยอรมันในช่วงแรกได้ ผลจากการวางกำลังของโปแลนด์ทำให้ กองทัพเยอรมันใช้ยุทธวิธีคีมคีบ ในการปิดล้อมกองทัพโปแลนด์ ตัดขาดเส้นทางการส่งกำลัง

หมายเหตุ ยุทธวิธีคีมคีบคือ การแบ่งกองทัพออกเป็นสองส่วนแล้วตีโอบล้อม กองทัพข้าศึกไม่ให้มีทางหนีได้





10 อันดับนายกรัฐมนตรีของไทยที่มีคะแนนนิยมสูงที่สุดตลอดกาล (ตอนที่ 2)

เกร็ดความรู้การเมืองไทย




เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลานะครับ มาต่อกันเลยดีกว่าครับ 😁 กับอีก 5 อันดับนายกของไทยที่มีคะแนนนิยมสูงตลอดกาลลลลลลลล



อันดับ  5  อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 321 คะแนน

             นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย เป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับตำแหน่งในขณะที่มีอายุเพียง 44 ปี ในอดีตอภิสิทธิ์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกรุงเทพมหานคร 6 สมัยและได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ และ สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย (คณะรัฐมนตรีชุดที่ 53) อภิสิทธิ์เป็นนักการเมืองที่มีบุคลิกหน้าตาดี ได้รับสมญานามจากสื่อมวลชนว่า "หล่อใหญ่" ซึ่งตั้งให้เข้าชุดกันกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นใหม่บุคคลอื่น ๆ เช่น นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับสมญานามว่า "หล่อเล็ก" และ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นเจ้าของสมญานาม "หล่อโย่ง" เป็นต้น

ท่านต่อมาเรียกได้ว่าคนไทยทุกคนต้องรู้จักเป็นแน่แท้นั้นก็คือ...

สมญานาม "หน้าเหลี่ยม"

อันดับ  4  พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร 389 คะแนน

อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2549 พ้นจากตำแหน่งหลังจากเกิดเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เดิมเคยรับราชการตำรวจ แล้วกลายมาเป็นนักธุรกิจ ผู้ก่อตั้งกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น รวมทั้งเคยเป็นประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี ในปี พ.ศ. 2537 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณได้เข้าสู่การเมืองโดยสังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมาจึงได้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ. 2541 ในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2544 พรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภาเขาจึงเข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายก รัฐมนตรีเป็นครั้งแรกและดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดำรงตำแหน่งจนครบ วาระเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และจากผลการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 ทำให้เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สองด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุด เป็นประวัติการณ์ รัฐบาลทักษิณได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ทั้งในเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวง ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎ ผลประโยชน์ทับซ้อน พฤติการณ์อันไม่เป็นประชาธิปไตย และการคุกคามสื่อ[3] นอกจากนี้ ยังถูกฟ้องร้องในด้านการหลีกเลี่ยงภาษี การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการขายทรัพย์สินของชาติให้กับนักลงทุนจากต่างชาติ อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2549 ได้เกิดการชุมนุมเรียกร้องครั้งใหญ่ และในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีการรัฐประหารโดยคณะทหารยึดอำนาจจากรัฐบาล ภายหลังรัฐประหารศาลได้พิจารณาตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณและกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลาห้าปี นอกจากนี้ ยังได้มีการอายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณอีกว่า 76,000 ล้านบาทในประเทศไทย จากข้อกล่าวหาที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณร่ำรวยผิดปกติขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทว่าจนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีความคืบหน้าในกรณีดังกล่าว


อันดับ  3  พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ 465 คะแนน

ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 16 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531และเป็นนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญของรัฐสภาที่ครองอำนาจยาวนานที่สุด ทั้งนี้เพราะกฎหมายไทยในสมัยนั้นไม่ได้กำหนดให้รัฐสภาต้องเลือกนายกรัฐมนตรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บุคลิกส่วนตัวพลเอกเปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้ หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี สมัยที่ 1 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42: 3 มีนาคม 2523 - 29 เมษายน 2526 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 มีนาคม 2526 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 สมัยที่ 2 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43: 30 เมษายน 2526 - 4 สิงหาคม 2529 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากรัฐบาลแพ้เสียงในสภา ในการออกพระราชกำหนดการขนส่งทางบก มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 สมัยที่ 3 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44: 5 สิงหาคม 2529 - 3 สิงหาคม 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ เกิดกลุ่ม 10 มกรา ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นเอกเทศภายในพรรค กลุ่ม 10 มกรา นี้ลงมติไม่สนับสนุนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติไม่ผ่านการเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอกเปรมจึงประกาศยุบสภา มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเปรม ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง มีกระแสการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการ ภายหลังการเลือกตั้ง ในคืนวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคชาติไทยเป็นแกนนำ ได้เข้าพบพลเอกเปรมที่บ้านพัก เพื่อเชิญให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่พลเอกเปรมปฏิเสธ ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม 2531 จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี และได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นประธานองคมนตรีในรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นรัชกาลปัจจุบัน



อันดับ  2  อานันท์ ปันยารชุน 524 คะแนน

อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 18 ของไทยและปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ประเทศแคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 และ พฤษภาทมิฬ เขายังได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2540 อีกด้วย นายอานันท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยแรกระหว่างวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 ถึง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 จากการเสนอชื่อโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอำนวยศิลป์เช่นกัน ทั้งเคยร่วมงานกับนายอานันท์ เมื่อ พ.ศ. 2514 ขณะพันโทสุจินดา (ยศขณะนั้น) เป็นรองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน และนายอานันท์ เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ภารกิจหลักของรัฐบาลนายอานันท์ในสมัยแรก คือ การร่างรัฐธรรมนูญ และจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายอานันท์ ได้นำบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถ และมีภาพพจน์ที่ดี มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เช่น นายนุกูล ประจวบเหมาะ นายเสนาะ อูนากูล นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ การบริหารประเทศของนายอานันท์ ได้ประกาศเน้นเรื่อง "ความโปร่งใส" นอกจากนั้นยังดำเนินนโยบายเป็นเอกเทศ ไม่ยอมอยู่ใต้คำสั่งของคณะรสช. ทำให้รัฐบาลได้รับเสียงชื่นชมจากประชาชน และได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ จนได้รับฉายาว่า "รัฐบาลโปร่งใส" และตัวนายอานันท์เองได้รับฉายาว่า "ผู้ดีรัตนโกสินทร์" นายอานันท์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ในการเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคสามัคคีธรรมได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด จำนวน 79 คน เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคกลับไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ หลังจากนางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ เป็นหนึ่งในบัญชีดำ ผู้ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับการค้ายาเสพติด พรรคร่วมเสียงข้างมาก ซึ่งประกอบด้วยพรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร จึงสนับสนุนให้พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ทั้งที่ก่อนหน้านี้ พลเอกสุจินดาเคยประกาศว่า จะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกล่าวในเวลาต่อมาว่า จำเป็นต้อง "เสียสัตย์เพื่อชาติ" การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา ทำให้เกิดกระแสการคัดค้านอย่างรุนแรง มีกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงที่ท้องสนามหลวงเพิ่มขึ้นจนถึงห้าแสนคน จนนำมาสู่การใช้กำลังปะทะ และปราบปรามในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 หรือ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ภายหลังเหตุการณ์ความรุนแรง พลเอกสุจินดาประกาศลาออกจากตำแหน่ง ฝ่ายพรรคร่วมเสียงข้างมาก ร่วมกันสนับสนุนให้ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่แล้วนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ได้ตัดสินใจเสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ แทนที่จะเป็นพลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยรัฐมนตรีส่วนใหญ่ เป็นรัฐมนตรีที่เคยดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยแรก นายอานันท์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด และนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 20



อันดับ  1  ศาสตราจารย์ (พิเศษ) พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช 663 คะแนน

นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ นับเป็นปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกทั้งคู่ว่า "หม่อมพี่ หม่อมน้อง" นอกจากนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ยังมีพี่สาวคือ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี (สมรสกับ พล.ต.อ.พระพินิจชนคดี หรือ พินิจ อินทรทูต) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นับเป็นบุคคลที่มีบุคลิกและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการประพันธ์ การแสดง และยังเป็นนักการเมือง ท่านเป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ. 2488 ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส.ในมือเพียง 18 คน รัฐบาลคึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี นายบุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย "เงินผัน" เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น ก่อนดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยรับบทเป็น นายกรัฐมนตรี ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศหนึ่ง ชื่อว่าประเทศ สารขัณฑ์ ในภาพยนตร์เรื่อง The Ugly American (1963) คู่กับมาร์ลอน แบรนโด เมื่อ ปี พ.ศ. 2506 และหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เคยรับบทเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ ผู้แทนนอกสภา กำกับโดย สุรสีห์ ผาธรรม นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี เมื่อปี พ.ศ. 2526 ระหว่างการเล่นการเมือง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีบุคลิกที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองที่ทุกคนรู้จักดี คือ วาทะศิลป์ และบทบาทเป็นที่ชวนให้จดจำ เช่น การผวนพูดเล่นชื่อของตัวเองเมื่อมีผู้ถามว่า หมายถึงอะไร โดยตอบว่า "คึกฤทธิ์ ก็คือ คิดลึก" เป็นต้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้รับฉายาจากนักการเมือง และสื่อมวลชนมากมาย เช่น "เฒ่าสารพัดพิษ" "ซือแป๋ซอยสวนพลู" ภายหลังเมื่อมีอาวุโสสูงวัย จนสามารถแสดงความเห็นทางการเมือง ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใดๆ จึงได้รับฉายาว่า "เสาหลักประชาธิปไตย" นอกจากนี้อีกฉายาหนึ่งที่ใช้เรียก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในบางแห่งคือ "หม่อมป้า" ในด้านวรรณศิลป์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีผลงานหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย ที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น สี่แผ่นดิน, ไผ่แดง, กาเหว่าที่บางเพลง, หลายชีวิต, ซูสีไทเฮา, สามก๊กฉบับนายทุน และเรื่องสั้น "มอม" ซึ่งได้ใช้เป็นบทความประกอบแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน บางชิ้นมีผู้นำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ เช่น สี่แผ่นดิน, หลายชีวิต และทำเป็นภาพยนตร์ เช่น กาเหว่าที่บางเพลง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สิริรวมอายุ 84 ปี 5 เดือน 20 วัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอชื่อให้ท่านเป็น บุคคลสำคัญของโลก กับทาง ยูเนสโก

10 อันดับนายกรัฐมนตรีของไทยที่มีคะแนนนิยมสูงที่สุดตลอดกาล (ตอนที่ 1)

เกร็ดความรู้การเมืองไทย

                      วันนี้มาร์คก็จะขอนำเสนอเนื้อหาเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเมืองไทย นั่นก็คือ... 10 อันดับนายกรัฐมนตรีของไทยที่มีคะแนนนิยมสูงที่สุดตลอดกาลลลลลล นั้นเอง อ่านมาถึงตรงนี้เพื่อนๆหลายๆคนคงจะอยากรู้แล้วสินะครับว่า ใครบ้างน้าที่จะมีคะแนนนิยมในการเลือกตั้งที่ผ่านๆมา เราไปดูกันที่คนแรกเลยดีกว่าครับ 😀😀




อันดับ  10  สมัคร สุนทรเวช 165 คะแนน

                      พูดชื่อนี้หลายคนต้องรู้จักกันแน่ๆ นั่นก็คือ นายสมัคร สุนทรเวช  นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม พ.ศ. 2551 — 9 กันยายน พ.ศ. 2551) หัวหน้าพรรคพลังประชาชน และยังเป็นถึงอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "น้าหมัก" "ออหมัก" หรือ "ชมพู่" (มาจากลักษณะจมูกของนายสมัคร) "ชาวนา" (จากกรณีกลุ่มงูเห่า)  ท่านสมัครเริ่มทำงานหลังจบนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสื่อมวลชนสายการเมือง โดยเขียนบทความ และความคิดเห็น ทางการเมืองแบบไม่ประจำใน หนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จนถึง 2516 เขียนบทความ การเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนถึง 2520 และเขียนบทความในคอลัมน์ประจำ "มุมน้ำเงิน" หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง 2537 นายสมัครข้ามจากการเป็นสื่ออย่างเดียว มาเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2511 ลงสมัครตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนขึ้นถึงระดับชาติ จนมามีบทบาทโดดเด่นช่วงปี 2519 จากการจัดรายการสถานีวิทยุยานเกราะ ที่มีเนื้อหาโจมตีบทบาทของ ขบวนการนักศึกษาในสมัยนั้น พร้อมทั้งปลุกระดมมวลชนให้เกลียดชังขบวนการนักศึกษา และ เป็นศูนย์กลางประสานงาน ถ่ายทอดกำหนดการ และคำสั่งเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านนักศึกษาใน เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ ในปี พ.ศ. 2519 นายสมัครได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมๆ กับการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และในปี พ.ศ. 2522 ได้ก่อตั้ง พรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค มีฐานคะแนนเสียงหลักในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในเขตที่มีหน่วยทหารตั้งอยู่หนาแน่น ความคิดและบทบาทของนายสมัคร มักสร้างกระแสมวลชน ทั้งสนับสนุนและคัดค้าน ได้อย่าง กว้างขวางร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 6 ตุลา, พฤษภาทมิฬ, ไอเดียหนุนกระทงโฟม ไล่มาจนถึง การกล่าวโจมตี ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ทางรายการโทรทัศน์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549


รายการชิมไปบ่นไป ของ ท่านสมัคร สุนทรเวช

อันดับต่อไปคงจะเป็นช่วงที่ใครๆหลายคน ที่อ่านบล็อคของมาร์คอยู่ อาจะยังไม่เกิด หรือถ้าเกิดแล้วก็คงจะอยู่ในช่วงวัยรุ่น แต่สำหรับตัวมาร์คเองก็ทันได้เกิดในช่วงสมัยที่ท่านเป็นนายกอยู่ 555 (นับว่าสมัยที่ท่านดำรงตำแนง เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศเราเป็นอย่างมาก เหตุการณ์ที่ว่านั้นก็คือ "วิกฤตการต้มยำกุ้ง" ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างนั่นเอง) นั่นก็คือ


อันดับ  9  พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 196 คะแนน

                           เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 22 ของไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และอดีตผู้บัญชาการทหารบก เป็นเจ้าของสมญา "ขงเบ้งแห่งกองทัพบก" เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้า พรรคความหวังใหม่ คนแรก และเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัย มีคะแนนเสียงหนาแน่นในจังหวัดนครพนม สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "บิ๊กจิ๋ว" และในพื้นที่ภาคอีสาน เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "พ่อใหญ่จิ๋ว" พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วเข้าสู่การเมือง ก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ ในเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ปี พ.ศ. 2535 พล.อ.ชวลิต เป็นหนึ่งในผู้ที่ปราศรัยขับไล่ พลเอกสุจินดา คราประยูร ที่สนามหลวง เป็นคนแรกด้วย การเมืองหลังจากนั้น พรรคความหวังใหม่กลายเป็นพรรคที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดในภาคอีสาน ก่อนที่จะย้ายพรรคมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544 และ พล.อ.ชวลิต ก็รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรสมัยแรกด้วย หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 พล.อ.ชวลิต พยายามจะเป็นผู้เสนอตัวไกล่เกลี่ยทำความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้ที่ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ "สมานฉันท์" กัน โดยเรียกบทบาทตัวเองว่า "โซ่ข้อกลาง" รวมทั้งมีการข่าวว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน แต่แล้วตำแหน่งนี้ในที่สุดก็ตกเป็นของ นายสมัคร สุนทรเวช ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ.ชวลิตได้เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่เจรจากับฝ่าย พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยเฉพาะ แต่หลังจากรับตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน ก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่หน้าอาคารรัฐสภา พล.อ.ชวลิตก็ขอลาออกทันที

    อันดับต่อมา ผู้เป็นเจ้าของวลี "เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามค้า" และดำเนินนโยบาย "เปิดเสรีทางการเงิน" นั่นก็คือ 


อันดับ  8  พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ 261 คะแนน

                  อดีตนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในหลายกระทรวงคือ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงกลาโหม พลเอกชาติชาย เป็นผู้ก่อตั้งพรรคการเมือง 2 พรรค และได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค คือ พรรคชาติไทย และ พรรคชาติพัฒนา พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 มีการปรับคณะรัฐมนตรี 1 ครั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ได้ดำรงตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นระยะเวลารวมประมาณ 2 ปีครึ่ง ผลงานที่โดดเด่นมากของรัฐบาล พลเอกชาติชาย ได้แก่ การดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะใน กลุ่มอินโดจีน เช่น การประสานงานให้มีการเจรจาร่วม ระหว่างเขมร 4 ฝ่าย เพื่อยุติการสู้รบ และสนับสนุน ให้มีการจัดตั้งรัฐบาลประเทศกัมพูชาภายใต้การนำของ สมเด็จสีหนุขึ้น นโยบายต่างประเทศของ รัฐบาลพลเอกชาติชาย มีชื่อเรียกที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ นโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" ทางด้านเศรษฐกิจ ได้อนุมัติโครงการเพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในหลาย โครงการ เช่น โครงการโทรศัพท์พื้นฐาน 3 ล้านเลขหมาย โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และโครงการทางด่วนยกระดับ ตัวเลขความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงนั้น ร้อนแรงถึงกว่า 10 เปอร์เซนต์ต่อปี กระทั่งมีการคาดหมายโดยทั่วไปว่าประเทศไทยจะเป็น "เสือตัวที่ 5" ของเอเชีย (Fifth Asian Tiger) ต่อจาก "4 เสือเศรษฐกิจของเอเชีย" คือ เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีชื่อที่เรียกเป็นที่รู้จักทั่วไปว่า "น้าชาติ" มีคำพูดติดปากเมื่อให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า "No Problem" หมายถึง "ไม่มีปัญหา" จนเป็นที่จดจำได้ทั่วไป ซึ่งศิลปินเพลง แอ๊ด คาราบาว ได้นำไปประพันธ์เป็นเพลงล้อการเมืองชื่อ "โนพลอมแพลม" การบริหารงานของรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เริ่มประสบปัญหาในช่วงท้ายของวาระการดำรงตำแหน่ง เมื่อถูกโจมตีว่ามีการทุจริต หาผลประโยชน์ในโครงการลงทุนของรัฐ จนมีคำกล่าวโจมตีการทำงานของคณะรัฐมนตรี รัฐบาลพลเอกชาติชายว่าเป็น "บุฟเฟ่ต์คาบิเนต" ขณะที่การทำงานของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีสัดส่วน ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล เป็นจำนวนมากก็ถูกโจมตีว่ามีสภาพเป็น "เผด็จการรัฐสภา" พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ บริหารประเทศจนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ก็ถูกยึดอำนาจการปกครองโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ภายใต้การนำของ พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ. สุจินดา คราประยูร พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล และพล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี ที่ต่อมานำไปสู่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535



สารคดีช่อง 9 ด้านนโบายของพลเอกชาติชาย ณ 4 สิงหาคม 2531


น้อยนักที่จะไม่มีใครรู้จักท่านนี้ ยิ่งคนที่เคยไปจังหวัดสุพรรรณบุรี แล้วต้องรู้จักอย่างแน่นอน นั่นก็คือ...


อันดับ  7  นายบรรหาร ศิลปอาชา 277 คะแนน

                      อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชา เกิดวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คนของนายเซ่งกิม และนางสายเอ็ง แซ่เบ๊ เดิมมีชื่อว่า นายเต็กเซียง แซ่เบ๊ สมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา (สมรสกับ เก๋-สุวรรณา ไรวินท์ ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจ ซุปไก่ก้อนรีวอง) และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา และ น.ส.ปาริชาติ ศิลปอาชา นายบรรหารจบการศึกษาชั้นประถมที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ากรุงเทพมาเรียนหนังสือชั้นมัธยม ที่ โรงเรียนวัฒนะศิลป์วิทยาลัย แต่ต้องหยุดเรียนไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หันไปทำงานกับพี่ชาย และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเอง เป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีน ให้กับ การประปาส่วนภูมิภาค จนมีฐานะร่ำรวย ต่อมาเมื่อนายบรรหารเป็นนักการเมืองแล้ว จึงเริ่มเรียนหนังสือต่อจนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2529 และศึกษาต่อปริญญาโทนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน นายบรรหารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 หลังจากที่พรรคชาติไทยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 โดยที่มีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งรัฐบาลนายบรรหารนี้มีผลงานคือ การเริ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ. 2540 ที่ถือกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีที่มาจากประชาชนและมีความเป็นประชาธิปไตย ที่สุด และได้นำมาใช้ในเวลาต่อมา นายบรรหารพ้นจากตำแหน่งด้วยการยุบสภา เนื่องจากถูกพรรคฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจในเรื่องสัญชาติเกิดของบิดา



ประวัติโดยย่อของท่านบรรหาร ศิลปอาชา




อันดับ  6  นายชวน หลีกภัย 289 คะแนน

                นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 เป็นนายกรัฐมนตรีสองสมัยใน คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53 ปัจจุบันเป็นประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายชวนเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรกอย่างแท้จริงนับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 และมีชื่อเสียงเรื่องความซื่อสัตย์กับความประพฤติที่ไม่ด่างพร้อย





พอหอมปากหอมคอกันแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวมาร์คจะมาเพิ่มเติมอีกว่าอดีตนายกรัฐมนตรีท่านไหนบ้างที่ได้คะแนนนิยมสูงเป็นลำดับที่ 1-5 ติดตามตอนต่อไปนะครับ สวัสดีครับ

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์สากล : ความขัดแย้งระหว่างประเทศ (สงครามโลกครั้งที่ 1)

             
                    สวัสดีครับ 😊 ผู้อ่านทุกๆคน หลังจากที่มาร์คได้เปิดบล็อกไปก็ไม่ได้อัปเดตอะไรเลย 😥 วันนี้ได้ฤกษ์งามยามดีมาร์คก็จะนำสาระความรู้ต่างๆเกี่ยวกับวิชาสังคมศึกษา (มั้ง?) มาเล่าสู่ทุกคนกันครับเป็นเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้งที่นำไปสู่การเกิดสงครามที่แพร่กระจายไปยังประเทศต่างและเป็นต้นเหตุของมหาสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติได้พบเจอ นั่นก็คือ สงครามโลกครั้งที่ 1(World War I)


ระยะการเกิดสงคราม - ยุติ (สงบศึก)
28 กรกฎาคม 1914 - 11 พฤศจิกายน 1918


คู่ขัดแย้ง

ฝ่ายสัมพันธมิตร 
สหราชอณาจักร ฝรั่งเศส และจักรวรรดิรัซเซีย

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
เยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี

ผลลัพธ์
-ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้ชนะ
-จักรวรรดิต่างๆสิ้นสุดลง
-การก่อตั้งสันนิบาตแห่งชาติ

สาเหตุ

- การขยายอำนาจของประเทศมหาอำนาจ (จักรวรรดิ)
- การรอบปลงพระชนม์รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตเรีย-ฮังการี
- ความขัดแย้งของมหาอำนาจส่งผลไปยังประเทศอาณานิคม 


                สงครามโลกครั้งที่ 1 ก็นับเป็นอีกความขัดแย้งครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามนโปเลียน มีทหารเสียชีวิตมากกว่า 9 ล้านนาย และยังทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ ในยุโรปนั้นหมดอำนาจลง 
สงครามเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 28 กรกฏาคม 1914 


โดยฮังการีเปิดฉากรุกรานเซอร์เบีย 

 (ฮังการี)→เซอร์เบีย


ตามด้วย การรุกราน เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศส โดย เยอรมัน 


(เยอรมัน)→เบลเยียม→ลักเซมเบิร์ก→ฝรั่งเศส


และ


 (รัสเซีย)→เยอรมัน

*หมายเหตุ  (→) แทนการรุกราน / () แทนผู้รุกราน